เปิดรับสมัคร ยืนยันจัด หลักสูตร การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลในการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร รุ่น 23 (IDP based on Competency Development) : 28 สิงหาคม 2567
ยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถ (Competency) ตามตำแหน่งงาน องค์กรธุรกิจชั้นนำ หน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ต่างก็นำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) มาเป็นเครื่องมือในการวางแผนและติดตามผลพัฒนาบุคลากร แต่ IDP ไม่ใช่แค่แผนที่ใครก็เขียนได้ การจัดทำ IDP ที่มีประสิทธิภาพต้องเชื่อมโยงสอดคล้องกับเส้นทางการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร (Training Road Map) และเป้าหมายการทำงาน (KPI) ซึ่งมีหัวใจสำคัญ คือ ต้องกำหนดว่า
- บุคลากรแต่ละคนต้องได้รับการพัฒนา Competency เรื่องใด ?
- จะพัฒนาด้วยวิธีการใดที่จะ 1) เหมาะสมกับ Competency แต่ละเรื่อง 2) เหมาะสมกับระดับ Competency ที่คาดหวัง และ 3) เหมาะสมกับคนแต่ละสไตล์
- ควรจะพัฒนาภายในระยะเวลาใดถึงจะหมาะสม ?
- จะติดตามและประเมินผลการพัฒนาอย่างไรให้เป็นรูปธรรม ?
สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้น โดยใช้เทคนิคที่หลากหลายจากประสบการณ์ในการบริหารงานด้าน HRD และเป็นวิทยากรที่ปรึกษาในเรื่อง IDP ให้เหมาะสมสอดคล้องกับองค์กรของท่านโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้ท่านสามารถ จัดทำและพัฒนาแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) ได้อย่างเป็นระบบสอดคล้องกับขีดความสามารถ (Competency) และผลการปฏิบัติงาน (Performance) ที่องค์กรคาดหวัง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร (Competitive Advantage) ด้วยการพัฒนาบุคลากร
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
- เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ขั้นตอน เทคนิคการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) และการพัฒนาบุคลากร
- สามารถจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลของตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชาได้สอดคล้องกับขีดความสามารถ (Competency) ของแต่ละตำแหน่งงาน และแผนที่เส้นทางการฝึกอบรม (Training Road Map) ของฝ่ายงานได้อย่างมืออาชีพ
- สามารถนำผลจากแผนพัฒนารายบุคคลไปเชื่อมโยงต่อยอดกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) และเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ได้อย่างเป็นรูปธรรม
- สามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลและพัฒนาทีมงานได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :
ส่วนที่ 1 : การพัฒนาความสามารถบุคลากรด้วย IDP ให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ (Competency Development VS Business Goals)
- การพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้วย IDP ให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ
- ทำไมองค์กรต้องทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)
- ใครบ้างหนอที่ควรร่วมจัดทำ IDP ?
- ความสัมพันธ์และเชื่อมโยงของ Strategy, Procedure, Work Instruction, Job Description, Competency, Training Roadmap กับ Individual Development Plan
ส่วนที่ 2 : ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลยุคใหม่ (Modern IDP Process)
- ขั้นตอนสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล
ส่วนที่ 3 : การวิเคราะห์ Competency และจัดทำ Training Road Map ในการพัฒนาบุคลากร
- Modern Job Description (JD) ต้นน้ำของการจัดทำ IDP ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน
- กำหนด Level Competency ทั้งที กำหนดแบบยอดนิยม 5 ระดับพฤติกรรม (Competency Dictionary) หรือแบบยุคใหม่ 4 ระดับขีดความสามารถดีหนอ ?
- การเชื่อมโยง JD และ Competency ของแต่ละตำแหน่ง สู่แผนที่เส้นทางการพัฒนาความสามารถบุคลากร (Training & Development Road Map) ให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ
- ก่อนจะทำ IDP เรามาทำ Training Road Map จาก Competency ของแต่ละฝ่าย/แผนกกันก่อนดีไหม ?
- ตัวอย่าง : การจัดทำ Modern Training Road Map ของหน่วยงาน จาก JD
- Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติจัดทำ Training Road Map จาก Competency ของแต่ละแผนก (Step 1)
ส่วนที่ 4 : Competency Assessment จาก Results อย่างไรให้ Competency Gap ชัดเจนและน่าเชื่อถือ
- แนวทางการวิเคราะห์ Competency Gap ในการพัฒนาความสามารถตาม Training Road Map
- ตัวอย่าง : แบบฟอร์ม Competency Assessment ในการประเมิน Competency Gap
- Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์หา Competency Gap เพื่อเตรียมจัดทำ IDP (Step 2)
ส่วนที่ 5 : เทคนิคการจัดทำ IDP ในการพัฒนาความสามารถบุคลากร (Competency Development with IDP)
- แนวทางการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ให้สอดคล้องกับ Competency Gap
- การนำผลการประเมินประจำปีมาเตรียมจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP based on Performance Appraisal)
- ตัวอย่าง : การนำ Competency Gap มาจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)
- Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลจาก Competency Gap (Step 3)
ส่วนที่ 6 : แนวทางการพัฒนาความสามารถบุคลากร (IDP Methods)
- หลัก 3E : 10% + 20% + 70% ในการพัฒนาความสามารถบุคลากร
- วิธีการพัฒนาความสามารถบุคลากร (Competency Development) ให้สอดคล้องกับ Competency Gap ด้วยหลัก 3E : 10% + 20% + 70%
ส่วนที่ 7 : การติดตาม การประเมินผล และรายงานผลการพัฒนาตาม IDP
- 5 วิธีการติดตาม ประเมิน และรายงาน “ผลการพัฒนา” ตาม IDP ด้วย Competency
- ตัวอย่าง : วิธีการติดตาม และการประเมินผลการพัฒนาตาม IDP
- ตัวอย่าง : การรายงานผลการพัฒนาแบบ Visual Control ด้วย Group Development Plan (GDP)
ส่วนที่ 8 : แนวทางการนำ IDP ไปเชื่อมโยงกับ HRD System
- แนวทางการนำ IDP ไปเชื่อมโยงกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร (Training and Development) ตาม Training Road Map (TRM)
- แนวทางการนำผลการประเมิน Competency ประจำปี (Performance Appraisal base on Competency) ไปเชื่อมโยงกับการจัดทำ IDP
- แนวทางการนำ IDP ไปเชื่อมโยงกับเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path Model : CPES)
- IDP Key Process
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก นักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบ/วิธีการในการเรียนรู้ :
- การบรรยาย (Lecture) ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning)
- การแชร์ประสบการณ์ตรงจากที่ปรึกษา IDP
- การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เชิงปฏิบัติการ
- การระดมความคิด (Brain Strom) กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion) เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการนำเสนอความคิดเห็น
- การตอบข้อซักถาม
วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
- วิทยากรและที่ปรึกษาผู้ชำนาญการพิเศษด้าน HR จากประสบการณ์ 34 ปี
- วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
- วิทยากรพิเศษด้าน HR คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
- อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย
- ราคาท่านละ 3,900 บาท/วัน (ไม่รวม VAT)
- ราคาสุดพิเศษอย่างยิ่งลงทะเบียน 4 ท่าน ขึ้นไปท่านละ 2,900 บาทราคาดังกล่าว ฟรี1) เอกสารประกอบการสัมมนา (เข้าเล่ม)2) ใบประกาศผ่านการอบรม
3) อาหารเบรก 2 มื้อ อาหารกลางวันบุฟเฟ่ต์โรงแรม รับกระเป๋าผ้าสมุดปากกา หน้างาน
ติดต่อสอบถาม
Tel : 098-8209929 คุณกุ้ง
E-mail: inwtraining.sale@gmail.com
Line id : @Tesstraining
Facebook : tesstrainingpage
ทาง บริษัท เทสส์ เทรนนิ่ง จำกัด เป็นบริษัทฝึกอบรมสัมมนาครบวงจร
หลักสูตรสามารถเลือกออกเเบบเพิ่มจัดรูปเเบบ IN HOUSE ในองค์กรเเจ้งได้ค่ะ
http://www.tesstraining.com