ออกแบบและจัดทำกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักร : 4 เมษายน 2561

ออกแบบและจัดทำกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักร : 4 เมษายน 2561

  • ออกแบบและจัดทำกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักร อ.สืบสกุล People Develop Center.jpg

วิทยากร : อาจารย์ สืบสกุล แสงธำรง

o ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ TQM / ISO / การเพิ่มผลผลิต

o ปริญญาโทสาขาบริหารอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

o ปริญญโทสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

o ปริญญาตรีสาขาอุตสาหการเชื่อมประสาน  คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

o ปริญญาตรีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล)

 

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME) : 
4 เมษายน 2561 ระหว่าง 09.00-16.00 น. ลงทะเบียน 08.30 น.

 

สถานที่อบรม (VENUE) : 

โรงแรมแกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพ (สุขุมวิท 6)

 

หลักการและเหตุผล :

“ออกแบบและจัดทำกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักร”  เป็นกิจกรรมทั่วๆไปในลักษณะของภาพรวมในการทำงานและลักษณะของการทำงานระบบย่อย (sub-system) หรือ loop พร้อมทั้งแนวทางการตรวจสอบด้วย 6 basics ของเครื่องจักรว่าสามารถตรวจสอบด้วยวิธีการ process approach อันจะทำได้อย่างครบมิติในทุกชิ้นส่วนของเครื่องจักร  ซึ่งถือว่าเป็นข้อสำคัญของการรวบรวมข้อมูลในระบบเอกสาร (documentation) อันเป็นจุดอ่อน (weakness) ของฝ่ายบำรุงรักษาหรือผู้ปฏิบัติงานด้านบำรุงรักษายังต้องใช้ 3gens (3จริง) ในการปฏิบัติงานเพื่อให้ข้อมูลทันสมัยอยู่นั่นเอง การจัดตั้งกลุ่ม SGA (Small Group Activities) ในกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักร สามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรด้วยการบริหารข้อมูลจากกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักรในฐานะ by product ของงาน

หลักสูตรนี้ออกแบบสำหรับผู้บริหารฝ่ายบำรุงรักษาและผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ต้องมีส่วนร่วม (participation) ด้วยการใช้มาตรฐาน (standardization) เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ (systematic) และลดการทำงานแบบยึดตัวบุคคลด้วยการเติมเต็มให้กระบวนการ TPM (Total Productive Maintenance ) หรือสร้างพื้นฐานของกระบวนการ TPM

 

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ :

1. เพื่อให้ผู้บริหารฝ่ายบำรุงรักษาและผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องมีส่วนร่วมในระบบที่กำหนดขึ้น

2. เพื่อลดการทำงานแบบยึดตัวบุคคล

3. เพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กรด้วยการบริหารข้อมูลจากการกระบวนการบำรุงรักษาในฐานะ by product ของงาน

4. เพื่อลดต้นทุนการสำรองชิ้นส่วน (max-min)

5. เพื่อเป็นการเพิ่มกิจกรรมแบบเติมเต็มให้กับฝ่ายบำรุงรักษา

  

เนื้อหาของหลักสูตร

เริ่มต้น      เกริ่นนำโครงสร้างหลักสูตร

บทที่ 1     หลักการแนวคิดของ Maintenance Audit แบบระบบย่อย (sub-system) หรือ loop

  • วัตถุประสงค์แนวคิดของ Maintenance Audit แบบระบบย่อย (sub-system)
  • องค์ความรู้ที่ต้องให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  • การทบทวนระบบเอกสาร

บทที่ 2     ปัจจัยที่ต้องเตรียมถ้าต้องทำกิจกรรม Maintenance Audit แบบระบบย่อย (sub-system) หรือ loop

  • เทคนิคการเตรียมปัจจัยด้านองค์ความรู้และทักษะ
  • แนวทางการทำ OJT

Workshop 1 การเขียน JS (Job Specification) ของบุคลากรในฝ่ายบำรุงรักษา

  • ฝึกปฏิบัติการเขียนองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรประจำเครื่องจักรในสายการผลิต

บทที่ 3     หลักการการกำหนดองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรด้วย 6 basics ของเครื่องจักรและ process approach

  • เทคนิคการแสวงหาข้อปัญหาจากผู้ใช้เครื่องจักร
  • เทคนิคการแสวงหาข้อปัญหาจาก specification ของเครื่องจักร

บทที่ 4     การเขียนองค์ความรู้และทักษะจาก M/C list

  • เทคนิคการรวบรวมตามรายการเครื่องจักรในสายการผลิต
  • แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากระบบเอกสารของระบบมาตรฐานต่างๆ

Workshop 2 การเขียนองค์ความรู้และทักษะจาก M/C list

  • ฝึกปฏิบัติการเขียนองค์ความรู้และทักษะจาก M/C list

บทที่ 5     การบริหารเชิงราบเพื่อจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าภายในด้วย กลุ่ม SGA

  • เทคนิคการกำหนดระบบการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าภายใน
  • เทคนิคการจัดตั้งกลุ่ม SGA อย่างครบวงจร

บทที่ 6     กระบวนการสร้างรายได้จากกิจกรรมบำรุงรักษา

  • เทคนิคการสร้างรายได้ by product จากกิจกรรมบำรุงรักษา
  • เทคนิคการพิจารณาประเด็นการสร้างรายได้ by product

Workshop 3 การเขียนรายการกิจกรรมที่สร้างรายได้

  • ฝึกปฏิบัติการเขียนประเด็นการสร้างรายได้ by product

บทที่ 7     เทคนิคการบริหารสาระสนเทศและข้อมูลสำหรับระบบเอกสารในงานของฝ่ายบำรุงรักษา

  • เทคนิคการประมวลข้อมูลจาก ใบตรวจประจำวัน
  • เทคนิคการสื่อสารเชิงราบกับลูกค้าภายใน

บทที่ 8     การบริหารงานแบบล่างสู่บน (bottom to top) ของฝ่ายบำรุงรักษา

  • ปรัชญาการบริหารงานแบบล่างสู่บน (bottom to top) ของฝ่ายบำรุงรักษา
  • บทบาทของบุคลากรต่อกิจกรรมแบบล่างสู่บน (bottom to top)

บทที่ 9     กระบวนการเขียนมาตรฐาน (standardization) ของฝ่ายบำรุงรักษา

  • เทคนิคการเลือกประเด็นในการเขียนมาตรฐาน (standardization) ของฝ่ายบำรุงรักษา

Q&A

 

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :

ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก หัวหน้าแผนกของฝ่ายบำรุงรักษา และผู้สนใจทั่วไป

 

วิธีการในการเรียนรู้ :

การอบรมแบบปฏิบัติการ  เน้น how to มากกว่า what is แบบ Q&A

training by doing ฝึกเขียนเอกสารจากงานจริง (real practice)

 

วิธีการชำระเงิน

  • โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก (หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่ 405-776955-2
  • บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเกิดขึ้น
  • ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน (ถ้ามี) ผู้โอนเงินต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเอง
    คำแนะนำในการชำระเงิน
  • โปรดชำระเงินที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร และส่งFax สำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร ส่งมาที่ 02-077-6531 หรือ Scan ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com ในวันโอนเงิน
  • เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ตัวจริงกรุณานำมาให้ในวันอบรม กรณีเอกสารไม่ครบจะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน
    ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
    บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 22/20  หมู่ที่ 6  ตำบลบางคูรัด  อำเภอบางบัวทอง  จ.นนทบุรี  11110

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0125558000502

หมายเหตุ : กรณียกเลิกการเข้าสัมมนา กรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนวันอบรม หากยกเลิกหลังจากนั้นโปรดกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าสัมมนาเพื่อรับเอกสารการอบรม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 091-738-7838, 095-8177859, 02-077-6531

Fax : 02-077-6531

E-mail : peopledevelop@outlook.com
www.peopledevelop.net

Spread the love