พรบ.กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ภาคปฏิบัติต้องทำอย่างไร รู้กันแล้วหรือยัง !!!! พบกับ UP TO DATE กฎหมายแรงานฉบับใหม่ วันอังคารที่ 9 มกราคม 2561

 

หลักการและเหตุผล

  • กฎหมายแรงงาน มีการปรับเพิ่มใหม่หลายประเด็น เช่น การเกษียณ / การลากิจ / ลาไปตรวจครรภ์ / การจ่ายค่าชดเชย 400 วัน / การย้ายสถานที่ทำงาน / การเปลี่ยนตัวนายจ้างต้องให้ลูกจ้างยินยอม
  • เงินสวัสดิการอย่างน้อย 15 ค่า ที่ศาลสั่งให้นำไปรวมคำนวณค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง / จ่ายเพิ่มเมื่อเกษียณ เพิ่มอีกเป็นล้าน
  • ประกันสังคม กำลังตรวจและออกคำสั่งให้นายจ้างนำเงินสวัสดิการหลายค่าไปรวมจ่ายเงินสมทบย้อนหลังด้วย นายจ้างเสียเงินเพิ่มเป็นล้าน ฝ่ายบุคคลตกงานทันที 

 

ภาคปฏิบัติจริงแต่ละเรื่องจะทำอย่างไร ?    …จะป้องกัน แก้ไขอย่างไรให้ทันเหตุการณ์

หัวข้อบรรยาย

ภาคเช้า : สรุปประเด็นสำคัญของกฎหมายใหม่

  1. Update กฎหมายแรงงาน ใหม่ มีเรื่องอะไรบ้าง  ?
  2. เดิมกำหนดเกษียณไว้ 55 ปี ต้องเปลี่ยนตามกฎหมายใหม่หรือไม่ ?
  3. ถ้าไม่กำหนดไว้ จะกำหนดใหม่ น้อยกว่า 60 ปี ได้หรือไม่ ?
  4. ถ้าไม่อยากกำหนดไว้เหมือนเดิม จะทำอย่างไรจึงไม่ผิดกฎหมาย ?
  5. ลูกจ้างที่แจ้งขอเกษียณเอง แจ้งแล้วหยุดเลย…ได้หรือไม่ ? ( แจกตัวอย่างคำขอเกษียณ )
  6. ลูกจ้างอายุ 65 ปีแล้ว แต่ยังไม่ขอเกษียณมา ต่อมาถูกรถชนตาย ต้องจ่ายค่าเกษียณให้หรือไม่ ?
  7. อายุ 59 ปี 10 เดือน มีสิทธิขอเกษียณหรือไม่ ?
  8. วันแจ้งขอเกษียณ จะแจ้งวันไหนก็ได้ใน 365 วัน  ใช่หรือไม่ ?
  9. ลูกจ้างขอเกษียณมา นายจ้าง หรือ หัวหน้าไม่อนุมัติได้หรือไม่ ?
  10. เมื่อแจ้งแล้ว นายจ้างขอให้ช่วยทำต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ลูกจ้างไม่ยอม จะบังคับได้หรือไม่ ?
  11. ลูกจ้างที่ทำงานไม่คุ้มค่า แต่ไม่ขอเกษียณมา จะให้เกษียณได้หรือไม่ ?
  12. การจ้างงานต่อหลังเกษียณ ทำอย่างไรจึงจะดีต่อนายจ้าง ลูกจ้าง ?
  13. การเตรียมการก่อนวันเกษียณที่ดีต้องจัดการอย่างไร ?
  14. การเตรียมคนแทน คนที่จะเกษียณจะทำอะไรบ้าง ?
  15. วันทำงานวันสุดท้ายของคนเกษียณ ต้องเป็นวันไหน มี 6 วิธีให้เลือกจะเอาไหม ?
  16. การทำข้อบังคับการทำงาน…การแก้ไขข้อบังคับใหม่ ทำอย่างไรจึงจะใช้ได้ ?
  17. มีลากิจอยู่แล้ว 6 วัน กม.ใหม่ให้ 3 วัน ต้องเพิ่มอีกไหม หรือ ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ?
  18. ลากิจธุระอันจำเป็นที่ควรได้ค่าจ้าง..ไม่ควรได้ จัดการอย่างไรดี ? ( แจกตัวอย่างแนวปฏิบัติ)
  19. ลาตรวจครรภ์ได้ค่าจ้าง ควรกำหนดแนวปฏิบัติอย่างไร ? ( แจกตัวอย่างแนวปฏิบัติ)
  20. ตั้งท้อง 8 เดือนแล้ว ท้องโต ไม่อยากมาทำงาน จะใช้สิทธิลานี้ได้หรือไม่ ? จะทำอย่างไร ?
  21. ค่าชดเชย 20 ปี ขึ้นไป จะมีแนวปฏิบัติอย่างไร ? ( แจกตัวอย่างแนวปฏิบัติ)
  22. กรณีเปลี่ยนตัวนายจ้าง ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอมไป กม.ใหม่ว่าต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าไม่อยากจ่ายจะทำอย่างไร ?
  23. ค่าตอบแทน ในกฎหมายใหม่ คืออะไร ? ต้องนำไปรวมจ่ายค่าชดเชยไหม ?
  24. ความผิดของนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าว ที่มาตรา 44 ไม่ยกเว้นมีเรื่องอะไรบ้าง ? ( จับปรับเป็นแสนทันที )
  25. กยศ. ถ้านายจ้างไม่หักเงินส่งสรรพากร จะโดนไม่ใช่น้อยตรงไหน ?

ภาคบ่าย : ตัวอย่างการเขียนเงื่อนไขสวัสดิการไม่ให้เป็นค่าจ้าง ไม่ต้องนำไปรวมค่าชดเชย ไม่ต้องส่งสมทบประกันสังคม ( สำคัญมาก )

  1.  “ สวัสดิการอย่างน้อย 15 ค่า ” ที่ศาลตัดสินว่าเป็น “ ค่าจ้าง ” ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง / นำไปจ่ายเพิ่มเมื่อเกษียณ มีค่าอะไรบ้าง ? ( นายจ้างแพ้คดี 100 % ฝ่ายบุคคลตกงานทันที….ระวังจะโดนไม่ใช่น้อย )
  2. เงินที่ประกันสังคม เร่งรัด ให้นำส่งประกันสังคมด้วย มีค่าอะไรบ้าง ?
  3. ถ้าส่งเงินสมทบไม่ครบ นายจ้างโดนปรับย้อนหลังเป็นแสน ฝ่ายบุคคลตกงานมานักต่อนักแล้วตรงไหน ?

วิธีการเขียนเงื่อนไขสวัสดิการไม่ให้เป็นค่าจ้าง ไม่ต้องนำไปรวมค่าชดเชย ไม่ต้องนำไปรวมสมทบประกันสังคม จะเขียนอย่างไร ? 

วิทยากร : สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา

ผู้สอนและเขียนหนังสือการบริหารงานบุคคลและกฎหมายแรงงานด้วยภาษาเข้าใจง่ายมากกว่า 30 เล่ม

รูปแบบและบรรยายการสัมมนา

  •  บรรยาย ถามตอบ ยกตัวอย่างข้อพิพาท กรณีศึกษา สนุก เข้าใจง่าย นำไปใช้ได้จริง

 

วันอังคารที่ 9 มกราคม 2561

เวลา 9.00 น. – 16.00 น.

 

ณ โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว สยาม

BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

 

สนใจสำรองที่นั่งกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ HR DEE SOLUTION

Spread the love