การบำรุงรักษาแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) : 13 กุมภาพันธ์ 2561

 

วิทยากร : อาจารย์ สืบสกุล แสงธำรง

o ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ TQM / ISO / การเพิ่มผลผลิต

o ปริญญาโทสาขาบริหารอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

o ปริญญโทสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

o ปริญญาตรีสาขาอุตสาหการเชื่อมประสาน  คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

o ปริญญาตรีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล)

 

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME) : 
13 กุมภาพันธ์ 2561 ระหว่าง 09.00-16.00 น. ลงทะเบียน 08.30 น.

 

สถานที่อบรม (VENUE) : 

โรงแรมแกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพ (สุขุมวิท 6)

 

หลักการและเหตุผล :

“การบำรุงรักษาแบบทุกคนมีส่วนร่วม” เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่องค์กรพึ่งกระทำ เพราะปัญหาขององค์กรที่เกิดขึ้นประเด็นหนึ่ง ก็คือ ข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายผลิตและฝ่ายบำรุงรักษาในด้านการใช้เครื่องจักร เช่น การใช้เครื่องจักรตามความเคยชินของฝ่ายผลิตและฝ่ายบำรุงรักษา  ที่มักจะได้รับ การแจ้งเสีย มากกว่า การแจ้งจะเสีย  เนื่องจากฝ่ายผลิตจะรู้ถึงอาการที่จะเกิดขึ้นก่อนเสีย ตลอดจนข้อจำกัดด้านภาระหน้าที่ของฝ่ายผลิตและเรื่องของช่วงเวลา ที่ต้องดำเนินการในลักษณะของการป้องกันที่จำเป็นต้องบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวกับเครื่องจักรของบุคลากรตามขอบเขตภาระหน้าที่

หลักสูตรนี้ออกแบบสำหรับหัวหน้างาน เพื่อให้มีความตระหนักในเรื่องของการทำงานตามภาระหน้าที่แบบมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ให้เกิดความปรองดองและมีความสมานฉันท์ภายในองค์กรที่เกี่ยวกับการบำรุงรักษาในการใช้อุปกรณ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต

 

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ :

1. เพื่อลดความขัดแย้งและลดช่องว่างระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายบำรุงรักษา

2. เพื่อสร้างความตระหนักตามภาระหน้าที่แบบมีส่วนร่วม

3. เพื่อกำหนดบทบาทในการใช้อุปกรณ์

4. เพื่อการบูรณาการกิจกรรมด้านการใช้อุปกรณ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต

5. เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำกิจกรรม TPM ในอนาคต

  

เนื้อหาของหลักสูตร

เริ่มต้น      เกริ่นนำโครงสร้างหลักสูตร

บทที่ 1     แนวคิดและวัตถุประสงค์ของการซ่อมบำรุงแบบ TPM

  • บทบาทของผู้ปฏิบัติงานเมื่อต้องใช้กระบวนการ TPM
  • การทำกิจกรรม Maintenance Audit โดยฝ่ายบริหารและลูกค้าภายใน

บทที่ 2     หลักการแปดเสาของ TPM และการประยุกต์ใช้ของ เสาที่ 1-2

  • ความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและคาบเกี่ยวตามภาระหน้าที่ของผู้ใช้เครื่องจักร
  • เทคนิคการเลือกการปรับปรุงเฉพาะเรื่องที่มีผลต่อ yield โดยผู้มีส่วนได้เสีย
  • กิจกรรมการใช้ใบตรวจประจำวัน (Daily check) เพื่อการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

WS-1 การเขียน   การปฏิบัติตาม 7 ขั้นตอนของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

  • ฝึกปฏิบัติการเขียน    กิจกรรมที่ต้องทำตามช่วงเวลาก่อน/ขณะ/หลังใช้เครื่องจักร

บทที่ 3     การตรวจสอบด้วยสายตาในการบำรุงรักษา

  • เทคนิคกำหนดขั้นตอนและวิธีการการตรวจสอบด้วยสายตาโดยผู้ใช้งาน

บทที่ 4     หลักการแปดเสาของ TPM และการประยุกต์ใช้ของ เสาที่ 3-4

  • เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance) ของผู้ใช้เครื่องจักร
  • แนวทางการให้องค์ความรู้เพื่อยกระดับความสามารถในทางเทคนิคของทั้งผู้ใช้เครื่องจักร/ผู้บำรุงรักษา

บทที่ 5     One point lesson  (OPL) และปฏิบัติการเขียนเพื่อใช้งาน

  • การเขียนวัตถุประสงค์และข้อระวังในการใช้  One point lesson (OPL)
  • กิจกรรมของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องทำเมื่อมีการใช้  One point lesson (OPL)

WS-2 การเขียน   One point lesson  (OPL)

  • ฝึกปฏิบัติการเขียน    One point lesson (OPL) ตามบริบทของบุคลากร

บทที่ 6     หลักการแปดเสาของ TPM และการประยุกต์ใช้ของ เสาที่ 5-6

  • เทคนิคการสร้างการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ (Quality Maintenance) โดยฝ่ายบำรุงรักษา
  • ความมั่นใจในคุณภาพที่เกิดจากการบำรุงรักษาเครื่องจักร
  • กระบวนการกำหนดตัวชี้วัด KPI ของฝ่ายบำรุงรักษาให้ได้ Q/C/D เพื่อตอบสนองลูกค้าภายใน

บทที่ 7     หลักการแปดเสาของ TPM และการประยุกต์ใช้ของ เสาที่ 7-8

  • เทคนิคการประสานงานลูกค้าภายในในฐานะฝ่ายสนับสนุนในส่วนงาน (Supporting Process) ของกระบวนการการผลิต
  • เทคนิคการสื่อสาร/ภาษากับลูกค้าภายใน
  • กระบวนการสื่อสารเชิงราบกับคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน

บทที่ 8     กำหนดการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามภาระหน้าที่เมื่อใช้ TPM

  • เทคนิคเป้าหมายเมื่อต้องใช้กระบวนการ TPM
  • การจัดตั้งส่วนงานสำนักงานส่งเสริม TPM (TPM Promotion Office) เพื่อความยั่งยืนและต่อเนื่อง

Q&A

 

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :

หัวหน้างาน Supervisor และผู้สนใจทั่วไป

 

วิธีการในการเรียนรู้ :

o  การอบรมแบบปฏิบัติการ  เน้น how to มากกว่า what is แบบ Q&A /training by doing ฝึกเขียนเอกสารจากงานจริง (real practice)

 

วิธีการชำระเงิน

 

  • โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก (หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่ 405-776955-2
  • บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเกิดขึ้น
  • ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน (ถ้ามี) ผู้โอนเงินต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเอง
    คำแนะนำในการชำระเงิน
  • โปรดชำระเงินที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร และส่งFax สำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร ส่งมาที่ 02-077-6531 หรือ Scan ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com ในวันโอนเงิน
  • เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ตัวจริงกรุณานำมาให้ในวันอบรม กรณีเอกสารไม่ครบจะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน
    ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
    บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 22/20  หมู่ที่ 6  ตำบลบางคูรัด  อำเภอบางบัวทอง  จ.นนทบุรี  11110

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0125558000502

หมายเหตุ : กรณียกเลิกการเข้าสัมมนา กรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนวันอบรม หากยกเลิกหลังจากนั้นโปรดกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าสัมมนาเพื่อรับเอกสารการอบรม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 091-738-7838, 095-8177859, 02-077-6531

Fax : 02-077-6531

E-mail : peopledevelop@outlook.com
www.peopledevelop.net

Spread the love