ธุรกิจร้านอาหาร

การจัดการธุรกิจร้านอาหาร

ทำร้านอาหารให้รวย ผมช่วยได้   

ธุรกิจร้านอาหาร ทำอย่างไรให้รวย

ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

 ธุรกิจร้านอาหาร นับเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีต้นทุนด้านการบริหารจัดการสูงกว่าที่หลายคนคาดคิด คนทำร้านอาหารคงเคยได้ยินคนรอบข้างพูดบ่อยๆ ว่า ทำร้านอาหารต้องได้กำไรดีแน่เลย ต้นทุนวัตถุดิบไม่เท่าไร ขายจานตั้งเป็นร้อย ประโยคนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะนอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบ (ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร) แล้ว ยังมี ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ด้านอื่นๆ ที่เราควรทราบอีกมาก แยกได้เป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

 1.ต้นทุนอาหาร (Cost of goods sold, COG) ค่าวัตถุดิบอาหาร หรือที่ร้านอาหารเรียกว่า Food cost ถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดในการทำร้านอาหาร ต้นทุนข้อนี้ถือเป็นต้นทุนสำคัญที่เจ้าของร้านควรใส่ใจให้มาก เพราะต่อให้ร้านคุณขายดีแค่ไหน หากไม่มีการควบคุมต้นทุนอาหารให้อยู่ในเกณฑ์แล้ว อาจทำให้ไม่เหลือกำไรตอนสิ้นเดือนก็เป็นได้ หรือที่เขาพูดกันว่ายิ่งขายยิ่งขาดทุน โดยปกติต้นทุนอาหารร้านทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 30-40% หรืออาจสูงถึง 40-50% ย่อมหมายถึงร้านจะได้กำไรมากขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือ บริหารต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น หรือการวิเคราะห์ต้นทุนอาหารในแต่ละเมนูอย่างละเอียดและสิ่งสุดท้ายที่ทำได้ (แต่ไม่ควรทำ) คือ การลดคุณภาพของวัตถุดิบเพราะแม้ว่าต้นทุนจะลดลงจริง แต่อาจทำให้คุณสูญเสียลูกค้าเดิมที่เคยชื่นชอบในรสชาติอาหารของคุณก็ได้

 2.ต้นทุนแรงงาน (Cost of labour, COL) คุณไม่สามารถทำร้านอาหารโดยปราศจากพนักงานได้เลย ทั้งพนักงานประจำ (Full time) และชั่วคราว (Part time) โดยต้นทุนแรงงานนี้รวมไปถึง เงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์อื่นๆเช่น เซอร์วิสชาร์จ ค่าอาหาร ที่พนักงานได้รับต้นทุนแรงงานนี้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่รองลงมาจากต้นทุนอาหาร ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 12-18% ของยอดขาย ขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน เช่น ถ้าเป็นร้านอาหาร fast food หรือ self service ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็จะน้อยกว่าร้านที่เป็นประเภท fine dining หรือ casual dining ซึ่งเน้นการบริการและพนักงานเสิรฟ์มากกว่าการบริหารจัดการต้นทุนแรงงานสามารถทำได้หลายวิธี โดยการวางแผนกำลังคนตามยอดขายในแต่ละช่วงเวลา ก็เป็นหนทางที่ดีหนทางหนึ่ง เช่น ถ้าร้านขายดีเฉพาะช่วงเย็น อาจใช้พนักงานชั่วคราว (Part time) แต่ก็ควรระวังเรื่องมาตรฐานการบริการด้วยเช่นกัน

อาหาร

3.ต้นทุนค่าเช่าที่ (Cost of rent, COR) ต้นทุนค่าเช่าที่นี้ อาจเป็นได้ทั้งแบบคงที่ (Fixed rate) โดยคิดตามตารางเมตรที่เช่า ตามปกติสัดส่วนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ รวมค่าน้ำค่าไฟและค่าแก๊สจะอยู่ประมาณ 10-20% ของยอดขาย อีกแบบคือคิดตามสัดส่วนรายได้ของร้านหรือที่เรียกกันว่า GP ซึ่งอาจเริ่มที่ 15% ไปจนถึง 30% ขึ้นอยู่กับผู้ให้เช่ากำหนด นอกจากค่าเช่าที่แล้วค่าประกันภัยและค่าภาษีโรงเรือนยังรวมอยู่ในต้นทุนส่วนนี้ด้วยเช่นกัน พื้นที่เช่าที่ไม่ได้อยู่ในห้างสรรพสินค้าอาจมีต้นทุนค่าเช่าที่น้อยกว่าที่อยู่ในห้างฯ แต่ไม่ได้หมายความว่าสัดส่วนต้นทุนต่อยอดขายจะน้อยกว่าเสมอไป ถึงแม้พื้นที่ในห้างฯ อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า แต่ก็อาจทำยอดขายได้สูงกว่า เนื่องจากไม่โดนผลกระทบโดยตรงต่อปัจจัยภายนอกเช่น สภาพภูมิอากาศ ที่จอดรถ ต้นทุนในส่วนนี้บางครั้งเราจะถือว่าเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed expense) เนื่องจากค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ในทุกๆ เดือน อาจมีมากขึ้นหรือน้อยลงตามค่าไฟฟ้าและค่าน้ำ แต่ไม่ได้เป็นสัดส่วนที่มากเท่าไร ยกเว้นว่าทางผู้ให้เช่าจะเก็บเป็น GP คุณถึงจะเสียค่าเช่าตามสัดส่วนของรายได้

อาหาร

4.ต้นทุนการจัดการ (Cost of Operating) ต้นทุนการจัดการจะรวมไปถึงค่าซ่อมแซมร้าน ค่าอุปกรณ์ทำความสะอาด ค่าทำโปรโมชั่นและการตลาด ฯลฯ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5-10% ของยอดขาย ทั้งนี้แต่ละร้านอาจจำแนกต้นทุนการจัดการนี้ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการบริหารจัดการต้นทุนส่วนนี้ด้วยเช่นกัน เช่น ค่าทำการตลาดและโฆษณา เราอาจกำหนดงบประมาณเป็นแบบคงที่ในแต่ละเดือน หรืออาจตั้งงบเป็นเปอร์เซนต์ตามสัดส่วนรายได้ในแต่ละเดือน 

5.ต้นทุนการบริหาร (General and Administrative expenses)ต้นทุนการบริหาร ประกอบไปด้วย ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าโทรศัพท์ ค่าที่ปรึกษาต่างๆ เช่น ค่าจ้างบริษัทบัญชี ค่านักกฎหมาย รวมไปถึง ค่าลิขสิทธิ์หรือใบอนุญาตต่างๆ รวมไปถึงเงินเดือนของเจ้าของเอง โดยทั่วไปจะอยุ่ที่ประมาณ 1-5% ของยอดขาย 

อาหาร

 สำหรับร้านที่มีหลายสาขาอาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของพนักงานส่วนกลางเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น พนักงานบุคคล บัญชี การตลาด หรือร้านไหนที่ซื้อแฟรนไชส์มา อาจมีค่า Royalty fee หรือค่า Management fee เพิ่มขึ้น จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ต้นทุนอาหาร (COGs) และ ต้นทุนแรงงาน (COL) หรือที่เรียกรวมกันว่า Prime Cost เป็นส่วนที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านอาหารมากที่สุด เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่ามัวแต่สนใจแต่การเพิ่มยอดขาย จนลืมวางแผนและบริหารจัดการต้นทุน 2 ส่วนนี้ เพราะหากร้านไหนมีการบริหารต้นทุนได้ดี ย่อมหมายถึงการเพิ่มขึ้นของผลกำไร โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเพิ่มยอดขายเลยก็เป็นได้

ธุรกิจร้านอาหาร

การจัดการธุรกิจร้านอาหาร

 การวาง Concept ธุรกิจร้านอาหาร เมื่อเริ่มคิดทำธุรกิจหัวข้อสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องคิดให้ลงตัวได้เร็วที่สุดคือการสร้าง Concept ให้กับผลิตภัณฑ์เพราะผลิตภัณฑ์ที่มี Concept เป็นของตัวเองจะง่ายต่อการจดจำและนำไปสู่การสร้าง BRAND โดยเฉพาะในยุคนี้การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มี Concept  ให้โดดเด่นมีความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนในสังคมกลายเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตอย่ามั่นคง Concept จึงหมายถึงการสร้างเรื่องราวหรือแสดงอารมณ์ที่เราต้องการสื่อสารออกไปให้กับผู้เป็นลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการดังนั้นความคิดหลักในการโฆษณา(Advertising Concept) จึงเป็นสิ่งสําคัญที่สุด เพื่อดึงความสนใจสร้างปฏิกิริยาและทําให้สินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน โดยอาจมีประเด็นในการคิด Concept ได้ดังนี้ 

ร้านอาหาร

หากว่าไปแล้วแนวคิดการวาง Concept ในการบริหารงานในด้านธุรกิจ นั้น

ความสำคัญของการบริหารธุรกิจเราจำเป็นที่ต้องเข้าใจในการวาง Concept VS Brend เปรียบเทียบ

 แนวคิด <---> ตรา <---> การทำ MARKENTING

MARKENTING <---> BRAND <---> CONCEPT

หากคุณเข้าใจกับ CONCEPT <----> BRAND <----> MARKENTING นิยาม 3 คำ นี้แล้ว มันคือ หัวใจ ที่สำคัญของการทำธุรกิจทุกประเภท 

ร้านอาหาร

ทำร้านอาหารให้ รวย ผม ช่วยได้

โดย

ดร.วิชัย เจริญธรรมนานนท์

ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ การจัดการธุรกิจร้านอาหาร

ระยะเวลาอบรม  2วัน 

ค่าลงทะเบียน  5,600บาท

เวลา 08.30-16.30น. 

เริ่ม วันเสาร์ที่  24 กุมภาพันธ์  2561

ถึง วันอาทิตย์ที่  25 กุมภาพันธ์  2561

คลิกดูรายละเอียด

1.ลงทะเบียนและชำระค่าอบรม

2.สถานที่อบรม 

ตารางเรียนแบบเฉพาะ

1.รายวิชา

2.ธุรกิจอาหารและภัตตาคาร 

3.ธุรกิจความงาม(เครื่องสำอาง สปา น้ำหอม)

การผลการันตรี 

*การขอรับใบประกาศนียบัตร*

*ผลงานของผู้ที่ผ่านการอบรม*

*รีวิว Mini Entrepreneur*

*คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ*

*บรรยายการผู้เข้าอบรม*

ผลงานที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่  มิสเตอร์ โดนัท, เคเอฟซี, อานตี้ แอนส์, เปปเปอร์ ลันช์, ชาบูตง, โคล สโตน ครีมเมอรี่, เดอะ เทอเรส, โยชิโนยะ, โอโตยะ, เทนยะ และ คัตสึยะ ร้านเอแอนด์ดับบลิว “มิยาบิ” เป็นร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น ฯ

Spread the love