การออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน : 27 มีนาคม 2561
การออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน : 27 มีนาคม 2561
วิทยากร : อาจารย์ สืบสกุล แสงธำรง
o ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ TQM / ISO / การเพิ่มผลผลิต
o ปริญญาโทสาขาบริหารอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
o ปริญญโทสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
o ปริญญาตรีสาขาอุตสาหการเชื่อมประสาน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
o ปริญญาตรีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล)
วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME) :
27 มีนาคม 2561 ระหว่าง 09.00-16.00 น. ลงทะเบียน 08.30 น.
สถานที่อบรม (VENUE) :
โรงแรมแกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพ (สุขุมวิท 6)
หลักการและเหตุผล :
“การออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน” เป็นกิจกรรมที่องค์กรต้องทำมากหรือน้อยตามสถานะประเภทของผลิตภัณฑ์/บริการการออกแบบใหม่ (redesign) การปรับปรุง (improvements) การวิเคราะห์และออกแบบใหม่ กระบวนการหรือวิธีการและขั้นตอน (methodology) ที่เป็นระบบเพื่อช่วยในการตระหนักถึงประสิทธิภาพที่เป็นรูปธรรม กระบวนการวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับนโยบายและวิสัยทัศน์ขององค์กร แต่กิจกรรมที่ทำจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความวิตกถึงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องทำกิจกรรมที่มีลักษณะที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เปลี่ยนแปลง (Change by unchanged) รวมทั้งการวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานด้วย เนื่องจากกิจกรรมแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด คือ 5gens (5จริง) และผู้ปฏิบัติงานต้องมีส่วนร่วม (participation) อย่างครบวงจร ด้วยการบริหารงานแบบล่างสู่บน (Bottom to top) ในการทำกิจกรรมเหล่านี้ หรือ การจัดตั้งกลุ่ม SGA (Small Group Activities) โดยฝ่ายบริหารสามารถใช้นโยบายเป็นเครื่องมือกำกับแนวทางในการกำหนดเป้าหมาย/benchmarking หรือ การใช้หลักการ ECRS (Eliminate/Combine/Rearrange/Simplify) นั่นเอง
หลักสูตรนี้ออกแบบสำหรับผู้บริหารขั้นต้น เพื่อให้ได้แนวทาง/วิธีการ/ขั้นตอนและการสร้างมาตรการการป้องกันในสิ่งไม่พึ่งประสงค์ในการทำกิจกรรม การออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามนโยบายรวมถึงด้วยการใช้มาตรฐาน (standardization) ในการนำกิจกรรมมาปฏิบัติ
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ :
1. เพื่อลดการทำงานแบบยึดตัวบุคคลผ่านการใช้มาตรฐานการทำงาน
2. เพื่อส่งเสริมให้การทำงานแบบทีมผ่านกิจกรรมจัดตั้งกลุ่ม SGA
3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจากล่างสู่บน (Bottom to top)
4. เพื่อให้ผู้บริหารขั้นต้นสามารกเลือกกระบวนการที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ
5. เพื่อให้ผู้บริหารขั้นต้นสามารกใช้การบริหารแบบบริหารตามความจริง (Fact management) ผ่านกิจกรรม 5 gens
เนื้อหาของหลักสูตร
เริ่มต้น เกริ่นนำโครงสร้างหลักสูตร
บทที่ 1 หลักการแนวคิดของ process Audit กับกิจกรรมออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน
- ความสัมพันธ์ของกิจกรรม process Audit กับกิจกรรมออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน
- ผลลัพธ์ของกิจกรรม process Audit
บทที่ 2 Yield ของสายผลิตกับวิธีการและขั้นตอน (methodology)
- เทคนิคการรวบรวมปัจจัยที่มีผลต่อค่า Yield
- ลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีนัยยะต่อค่า Yield
Workshop 1 การเขียน JS (Job Specification) ของบุคลากรในฝ่ายผลิต
- ฝึกปฏิบัติการเขียน JS (Job Specification) ของบุคลากรตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน
บทที่ 3 หลักการการกำหนดองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรในฝ่ายผลิต
- เทคนิคลำดับองค์ความรู้และทักษะตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- กิจกรรมที่ต้องทำเพื่อเพิ่มองค์ความรู้
บทที่ 4 บทบาทและภาระงานกลุ่ม SGA ด้วย ECRS ของบุคลากรในฝ่ายผลิต
- เทคนิคการกำหนดวัตถุประสงค์ของกลุ่ม SGA
- แนวทางการใช้หลักการ ECRS ของกลุ่ม SGA
บทที่ 5 กระบวนการวิเคราะห์ขั้นตอนและวิธีการ (methodology)
- แนวทางการกำหนดขั้นตอนด้วยบันทึกการปฏิบัติงาน
- การนำเสนอแบบการสื่อสารเชิงราบต่อฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
บทที่ 6 การเขียนองค์ความรู้และทักษะจากสายการผลิตที่ได้จากการวิเคราะห์ ด้วย process approach
- เทคนิคการรวบรวมปัจจัย ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ
- เทคนิคการรวบรวมผลกระทบต่อปัจจัยทั้งบวกและลบ
Workshop 2 การเขียน องค์ความรู้และทักษะจากขั้นตอนการผลิตหรือบริการ
- ฝึกปฏิบัติการเขียน องค์ความรู้และทักษะตาม JS (Job Specification)
บทที่ 7 การบริหารเชิงราบเพื่อจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าภายใน
- เทคนิคการบริหารเชิงราบเพื่อจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าภายในอย่างยั่งยืน
- การกำหนดปัจจัยเพื่อการบริหารเชิงราบ
บทที่ 8 กระบวนการสร้างรายได้จากกิจกรรมการออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน
- เทคนิคการเลือกประเด็นสร้างรายได้จากกิจกรรม
- เทคนิคการเพิ่มแรงจูงใจ (motivation) ให้กับบุคลากรจากกิจกรรมการออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน
บทที่ 9 กระบวนการเขียนมาตรฐาน (standardization) ด้านการออกแบบ/วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน
- การเลือกขั้นตอนในการปฏิบัติงานเพื่อเขียนมาตรฐาน (standardization)
- การใช้/ประเมินผล/การปรับปรุงมาตรฐาน (standardization)
Q&A
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
ผู้บริหาร ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก หัวหน้าแผนกผลิต และผู้สนใจทั่วไป
วิธีการในการเรียนรู้ :
การอบรมแบบปฏิบัติการ เน้น how to มากกว่า what is แบบ Q&A
training by doing ฝึกเขียนเอกสารจากงานจริง (real practice)
วิธีการชำระเงิน
- โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก (หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่ 405-776955-2
- บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเกิดขึ้น
- ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน (ถ้ามี) ผู้โอนเงินต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเอง
คำแนะนำในการชำระเงิน - โปรดชำระเงินที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร และส่งFax สำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร ส่งมาที่ 02-077-6531 หรือ Scan ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com ในวันโอนเงิน
- เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ตัวจริงกรุณานำมาให้ในวันอบรม กรณีเอกสารไม่ครบจะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน
ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 22/20 หมู่ที่ 6 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0125558000502
หมายเหตุ : กรณียกเลิกการเข้าสัมมนา กรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนวันอบรม หากยกเลิกหลังจากนั้นโปรดกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าสัมมนาเพื่อรับเอกสารการอบรม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 091-738-7838, 095-8177859, 02-077-6531
Fax : 02-077-6531
E-mail : peopledevelop@outlook.com
www.peopledevelop.net